ปอร์เช่ คว้าชัยศึกความเร็วเสมือนจริง Le Mans 24 ชั่วโมง

0

ทีมงานปอร์เช่ Esports ซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่สามารถเอาชนะการแข่งขันแบบเสมือนจริงครั้งแรกของรายการ สุดคลาสสิค Le Mans 24 ชั่วโมง ภายใต้การคุมพวงมาลัยของนักแข่งทีมโรงงาน Nick Tandy (สหราชอาณาจักร) และนักแข่งเยาวชน Porsche-Junior  Ayhancan Güven (ตุรกี) เคียงข้างนักแข่ง esport มืออาชีพ Josh Rogers (ออสเตรเลีย) และ Tommy Östgaard (นอร์เวย์) รถแข่ง 911 RSR รุ่นปี 2017 เวอร์ชั่นดิจิทัล วิ่งผ่านธงตราหมากรุกเป็นคันแรกบนสนาม Circuit des 24 Heures ระยะทาง 13.626 กิโลเมตร หลังกรำศึกสุดทรหด ผ่านไปทั้งสิ้นรวม 339 รอบ ในรุ่น GTE พวกเขาขับรถเข้าเส้นชัยเมื่อการขับเคี่ยวระยะยาวราวกับไม่มีที่สิ้นสุดกินเวลา 2 รอบเข็มนาฬิกา โดยผู้ชนะทิ้งห่างจากอันดับ 2 ถึง 1 รอบสนามเต็มๆ ในความเป็นจริงเมื่อ 50 ปีก่อน เกียรติยศ ครั้งแรกของปอร์เช่จากการคว้าชัยบนสนามระดับตำนานแห่งนี้ เริ่มต้นด้วยความสำเร็จของ Hans Herrmann และ Richard Attwood ในวันที่ 14 มิถุนายน 1970 คู่หูนักแข่งชาวเยอรมัน และชาวอังกฤษ เอาชนะในรายการ Le Mans 24 ชั่วโมง ได้หลังพวงมาลัยรถแข่ง 917 KH ยิ่งไปกว่านั้นทั้งคู่ยังสามารถคว้าแชมป์รวมถึง 19 สนาม ตลอดฤดูกาลแข่งขันที่ยอดเยี่ยมเกินคำบรรยาย ปอร์เช่คือ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีสถิติการครองแชมป์ในรายการนี้ มากที่สุดจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ Le Mans 24 ชั่วโมงจึงจำเป็นต้องเลือนกำหนดการไปเป็นวันที่ 19 และ 20 เดือนกันยายน

ปอร์เช่ส่งรถเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันในรูปแบบดิจิทัลด้วยรถแข่ง 911 RSR เสมือนจริงเป็นจำนวน 4 คัน โดยในแต่ละคันจะได้รับการควบคุมโดยนักแข่งรถตัวจริงเสียงจริง 2 คน และนักแข่ง esports มืออาชีพสังกัดทีม Coanda Simracing อีก 2 คน ตั้งแต่ช่วงแรกของการแข่งขันเป็นรถหมายเลข 93 ทำได้ดีอย่างต่อเนื่องจนจบ หลังการออกตัวที่ยอดเยี่ยมของนักขับผู้เริ่มต้นด้วยรถแข่งปอร์เช่ 911 RSR หมายเลข 88 จากทีม Dempsey-Proton ในฐานะแชมป์ Le Mans ฤดูกาล 2015 Tandy ซึ่งขับต่อจาก Östgaard ที่ทำผลงานได้ดีเยี่ยมตลอด 4 ชั่วโมง รถของทั้งคู่สามารถก้าวขึ้นมาในตำแหน่งผู้นำเช่นเดียวกับ Güven และ Rogers ซึ่งยังคงรักษาอันดับ 1 เอาไว้ได้ แม้ต้องเข้าพิทถึง 2 ครั้ง จากปัญหาด้านเทคนิคจนส่งผลต่อระบบการชาร์จประมาณ 6:15 นาฬิกา ขณะพระอาทิตย์ กำลังสาดแสงยามเช้า Rogers นักแข่งวัย 20 ปี สามารถทำเวลาต่อรอบที่เร็วที่สุดในรุ่น GTE ได้ ด้วยสถิติ 3:48.203 นาที

ในส่วนของรถแข่งปอร์เช่ 911 RSR หมายเลข 92 เป็นอีก 1 คันที่มีลุ้นอันดับบนโพเดียมตลอดการแข่งขัน น่าเสียดายที่รถของ Matt Campbell (ออสเตรเลีย) นักขับทีมเยาวชน Porsche-Junior Jaxon Evans (นิวซีแลนด์) Mack Bakkum (เนเธอร์แลนด์) และ Jeremy Bouteloup (ฝรั่งเศส) ต้องพบกับปัญหาการทำงานผิดพลาดของเซิร์ฟเวอร์ เป็นเวลาเกือบ 1 ชั่วโมงก่อนสิ้นสุดการแข่งขันผลงานที่ทำได้เมื่อผ่านเส้นชัย คือการจบอันดับที่ 11  ในรุ่น GTE

 

รถแข่งอีกคันที่มีโอกาสจบอันดับ 1 ใน 3  คือรถหมายเลข 91 ซึ่งขับโดย  2  นักแข่งทีมจากทีม Porsche Formula E André Lotterer (เยอรมัน) และ Neel Jani (สวิสเซอร์แลนด์) พร้อมทั้งนักแข่ง esport ชาวอเมริกัน Mitchell de Jong และ Martti Pietilä จากฟินแลนด์ในระหว่างที่วิ่งอยู่ในกลุ่มผุ้นำ 4 คันแรกจนกระทั่งหนึ่งชั่วโมงก่อนสว่างเกิดปัญหากับเซิร์ฟเวอร์ ขึ้นขณะเปลี่ยนตัวนักขับจนทำให้สูญเสียเวลาไปทั้งที่กำลังมีลุ้นที่จะคว้าอันดับที่ 3 ของการแข่งขันตำแหน่งสุดท้ายของ พวกเขาหลังจบดิจิทัล Le Mans คืออันดับที่ 12

ความโชคร้ายยเป็นของทีมนักขับที่ประกอบด้วย Simona de Silvestro (สวิสเซอร์แลนด์) และ Patrick Pilet (ฝรั่งเศส) รวมทั้งนักแข่ง esport Martin Krönke (เยอรมัน) และ David Williams (สหราชอาณาจักร) โดยเป็น De Silvestro ที่ประสบอุบัติเหตุหลังออกสตาร์ทเพียง 30 นาที และนั่นคือความยากลำบากที่จะกลับมาอยู่ในกลุ่มที่สามารถลุ้นผล การแข่งขันได้ซ้ำร้ายในช่วงกลางของการแข่งขัน Pilet ทำรถเสียหายจนกระทั่งต้องออกจากการแข่งขัน

Comments are closed.