คอนติเนนทอลได้เรียกร้องกับทางมหาวิทยาลัยให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการฝึกอบรบผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อที่เยอรมนีจะสามารถไล่ตาม AI ได้ทัน โดยดร. ดร. เอเรียน เรนฮาร์ท กรรมการบริหารฝ่ายมนุษยสัมพันธ์ของคอนติเนนทอล ได้อธิบายว่า “AI เป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับเยอรมนี หากไม่มีการพิจารณาจากทางมหาวิทยาลัยให้มีการเพิ่มความสำคัญให้กับการฝึกอบรมแบบเชิงปฏิบัติในการศึกษาด้าน AI ก็อาจทำให้เยอรมีกลายเป็นรองทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก ดังนั้นเศรษฐกิจของประเทศจะเสี่ยงต่อการสูญเสียฐานเศษฐกิจชั้นนำด้านเทคโนโลยีอื่นๆ ได้”
แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะสามารถผลิตนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน AI ที่มีชื่อเสียงมามากมาย แต่นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมได้โดยตรงเนื่องจากขาดความเชี่ยวชาญเชิงปฏิบัติ ดร. เรนฮาร์ท กล่าวอีกว่า “ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร AI ไม่ได้รับการฝึกฝนเชิงปฏิบัติการอย่างเพียงพอตามความต้องการของเศรษฐกิจ เราจึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากมหาวิทยาลัยได้ฝึกปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ โดยใช้เวลาฝึกอบรมเพิ่มเติมอีก 3-5 ปี ซึ่งถือว่าใช้เวลาค่อนข้างมากในแง่ของ AI ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในทุกด้าน”
คอนติเนนทอลใช้เงินหลายสิบล้านในการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้าน AI มากกว่า 1,000 คนในแต่ละปี “เศรษฐกิจจะต้องละทิ้งแนวคิดที่ว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ กำลังผลิตผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีไป เนื่องจากนวัตกรรมมีวิวัฒนาการสูงขึ้นแต่มีความกดดันด้านต้นทุนให้ต่ำลง จึงทำให้มีบริษัทที่สามารถลงทุนเงินก้อนโตเพื่อฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้าน AI น้อยลงไปด้วย” ดร. เรนฮาร์ท กล่าว
และยังกล่าวต่ออีกว่า “AI ต้องการความแตกต่างของการทำงานร่วมกันระหว่างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กับวัฒนธรรมในการแบ่งปัน ทั้งนี้เราจึงควรทำตามผู้นำที่กำหนดโดยประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและจีน โดยบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในประเทศเหล่านี้ ได้ให้ข้อมูลเพื่อให้วิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาและตรวจสอบโปรแกรม AI และอัลกอริธึมจากข้อมูลนั้นๆ ได้”
วิทยาศาสตร์จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง
คริสเตียน เคอสทิง ศาสตราจารย์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักรที่มหาวิทยาลัยเทคนิคดาร์มสตัดท์ และผู้อำนวยการร่วมของศูนย์เฮสเซียน ให้การสนับสนุนแนวทางนี้ แต่ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการขาดวัฒนธรรมของ AI ในระบบเศรษฐกิจ สำหรับเขาการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น จึงไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะมีความสำคัญในการทดสอบโครงการและแบบจำลองทางวิทยาศาสาตร์ในเชิงปฏิบัติการ แต่การที่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริงได้ เพื่อให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์และสถาบันทางด้าน AI อื่นๆ มากขึ้น ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เคอสทิง กล่าวว่า “ บริษัทต่างๆ พึ่งพา AI โดยไม่เข้าใจหลักการทำงานที่แท้จริงของมัน ดังนั้นทุกคนที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมาร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนา อีกทั้งรัฐก็จะต้องร่วมแบ่งปันและสนับสนุนหน่วยงานด้าน AI และสถาบัน AI ด้วยงบประมาณที่สูงขึ้นด้วย เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีนั้นสามารถปรับปรุงและขยายออกไปได้”
คอนติเนนทอลในฐานะผู้คิดค้นคุณสมบัติของ AI
คอนติเนนทอลได้เปิดสถาบันซอฟต์แวร์ของตนเอง เพื่อฝึกอบรมผู้เชี่ยวด้าน AI แบบปฏิบัติการจริง พร้อมทั้งอัพเดทความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดให้มีการฝึกอบรม ตลอดจนหลักสูตรและสัมมนาภายในองค์กร รวมถึงการพูดคุยเกี่ยวกับเทคนิคกับวิทยากรจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ดร. เรนฮาร์ท ยังคงกล่าวอีกว่า “ผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางด้าน AI นั้นถือเป็นปัจจัยที่สามารถชี้ขาดและดึงดูดใจนายจ้างได้ว่าจะไม่ทำให้เทคโนโลยีล้าหลัง คอนติเนนทอลมีความริเริ่มและมุ่งมั่นที่จะแสดงให้เห็นว่าบริษัทสัญชาติเยอรมันนั้นไม่เพียงแค่เป็นผู้นำในการมีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังคงความน่าสนใจของงานไว้ในเยอรมนีได้อีกด้วย”
ยิ่งไปกว่านั้น คอนติเนนทอลยังได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยี AI แห่งอนาคตในระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อการเป็นผู้ช่วยขับขี่ ไปจนถึงการขับขี่และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วย จึงทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในกลยุทธ์ของบริษัท ด้วยการมุ้งเน้นไปที่จุดสำคัญของนวัตกรรม เช่น ซอฟต์แวร์และระบบดิจิทัล อีกทั้งวิศวกรของคอนติเนนทอลจำนวนประมาณ 20,000 คนจากกว่า 51,000 คนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และไอทีอยู่แล้ว และบริษัทก็ยังต้องการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวด้าน AI ให้มากขึ้นจาก 1,000 คนเป็น 1,600 คนภายในปี 2566 อีกด้วย